การดูแลรักษากระดูกให้แข็งแรงนั้น เราควรที่จะต้องรู้ว่าสารใดบ้างที่มีส่วนช่วยให้กระดูกแข็งแรง สามารถสร้างมวลกระดูก ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของกระดูกให้อยู่ในสภาพปกติ บทความวาไรตี้ดีดีได้รวบรวมสารที่ช่วยให้กระดูกของเรานั้นแข็งแรง มีดังนี้
1. Calcium L-Threonate (แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต)
เป็นแคลเซียมในรูปแบบที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาสำหรับใช้ในภาวะกระดูกพรุนโดยเฉพาะ โดย L-Threonate เป็น Bio-carrier ในการนำพา calcium จึงทำให้กระดูกดูดซึมได้ถึง 95% ขณะที่แคลเซียมทั่วไปดูดซึมได้เพียง 10-15% จึงได้เป็นแคลเซียมที่ดูดซึมได้ดีที่สุดในปัจจุบันและ Calcium L-Threonate เป็นแคลเซียมที่เตรียมให้อยู่ในฟอร์มที่ละลายน้ำได้ดีกว่าแคลเซียมชนิดอื่นๆจึงไม่เหลือหินปูนตกค้าง ไปตกตะตอน หรือไปเกาะอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ไม่ทำให้เกิดผลร้ายต่อร่างกาย เช่น นิ่วในถุงน้ำดี ไม่ทำให้เกิดอาการท้องผูก อีกทั้งยังทานสะดวก เพราะสามารถดูดซึมได้ดีไม่ว่าจะทานในช่วงไหนของวัน ซึ่งปกติแคลเซียมชนิดอื่นต้องทานหลังอาหารเพื่ออาศัยความเป็นกรดในกระเพาะอาหารช่วยในการดูดซึม
2. Phosphorus (ฟอสฟอรัส)
เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่ง ทำงานร่วมกับแคลเซียม มีหน้าที่เป็นโครงสร้างของกระดูกและฟันช่วยในการเจริญเติบโต ช่วยในการทำหน้าที่ของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ คนที่ขาดฟอสฟอรัสจะมีการเจริญเติบโตช้ากระดูกผุและกระดูกพรุน
3. Boron (โบรอน)
เป็นสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ยอมรับว่า โบรอน เป็นธาตุที่สำคัญต่อสุขภาพเนื่องจากโบรอนจะไปช่วยเพิ่มความหนาแน่ให้มวลกระดูกและควบคุมสมดุลฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งมีผลต่อการดูดซึมแคลเซียมให้เป็นปกติ เพื่อความแข็งแรงของกระดูกและป้องกันกระดูกพรุน
4. Magnesium (แมกนีเซียม)
เป็นเกลือแร่ที่พบส่วนใหญ่ในร่างกาย (60-70%) แมกนีเซียมทำงานร่วมกับ calcium ช่วยเพิ่มการดูดซีมแคลเซียม เสริมสร้างมวลกระดูก ช่วยให้กล้ามเนื้อยืดหดตัวได้ดีขึ้น ช่วยเพิ่มความสูง ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน ทำให้กระดูกมีความหนาแน่มากขึ้น
5. Vitamin K (วิตามิน เค)
มีบทบาทสำคัญ ในการช่วยป้องกันกระดูกเปราะบาง และช่วยเพิ่มกระบวนการเมตาบอลิซึมแคลเซียม ทั้งยังช่วยผลักแคลเซียมเข้าสู่กระดูก และดูดซึมแคลเซียมได้ดี ลดความเสี่ยงการเกิดกระดูกหัก และพรุน
Vitamin D3 (วิตามิน ดี 3)
ช่วยให้ร่างกายเพิ่มการดูดซึมแคลเซียม และฟอสฟอรัส เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ช่วยเพิ่มส่วนสูงและความแข็งแรงของร่างกาย
Collagen Type II (Salmon’s Skin)
คอลลาเจน ไทพ์ทู จากหนังปลาแซลมอน เป็นคอลลาเจนชนิดเดียวที่พบในเซลล์กระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อของมนุษย์ แตกต่างจากคอลลาเจนที่พบในเซลล์ผิวหนัง ซึ่งจะเป็นคอลลาเจนชนิดที่ 1,3 และ 4 (Collagen Type I,III, and IV) คอลลาเจนที่พบในกระดูกอ่อน มีหน้าที่ในการรองรับน้ำหนักและให้ความแข็งแรงแก่ข้อต่อในขณะที่มีการเคลื่อนไหว ช่วยทนต่อแรงกระแทก ถ้าคอลลาเจนชนิดนี้ลดตัวลงจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับภาวะการเกิดข้อเสื่อม และ ข้ออักเสบ (Ostecarthritis)
Manganese (แมงกานีส)
มีความจำเป็นต่อการสังเคราะห์เนื้อเยื่อเกี่ยวกับกระดูก และกระดูกอ่อน แมงกานีสจะมีส่วนคล้ายแมกนีเซียม จากการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้หญิงที่เป็นโรคกระดูกพรุนจะมีระดับแมงกานีสต่ำ(พบระดับของแมงกานีสในร่างกายเพียง 25% ของคนปกติ)
Silicon (ซิลิคอน)
เป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทหน้าที่ในการเป็นส่วนประกอบ และเสริมสร้างความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ขบวนการที่แคลเซียมไปเกาะที่กระดูก และเกี่ยวข้องกับการทำงานของ คอลลาเจนอิลาสดิน
Inositol (อินโนซิทอล)
เป็นสารชนิดหนึ่งในกลุ่มวิตามินบี ช่วยในการทำงานของระบบประสาทช่วยในการสร้างเยื่อหุ้มระบบประสาท และเซลล์ไขกระดูก ช่วยบำรุงสุขภาพของกระดูก ถ้าขาด Inositol การเจริญเติบโตของกระดูกอ่อนจะหยุดซะงัก
L-Arginine (แอล-อาร์จินีน)
เป็นกรดอะมิโนที่มีคุณสมบัติที่สำคัญคือการช่วยเพิ่มความสูง โดยช่วยกระตุ้นให้ต่อมใต้สมองผลติดโกรทฮอร์โมน โดยจะช่วยเพิ่มความสูงในช่วงอายุ 18-25 ปี เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสังเคราะห์เองได้ แต่ร่างกายก็ยังจำเป็นจะต้องได้รับเพิ่มเติมในช่วงวัยเจริญเติบโตมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผู้ที่อยากสูง
AA2G (Ascorbic Acid 2 Glucoside) (เอเอทูจี)
เป็นวิตามินซีในรูปแบบของ Time release คงอยู่ในร่างกายได้ถึง 8 ซม. (วิตามินซีทั่วไป ในรูป Ascorbic Acid อยู่ในร่างกายได้เพียง 2 ซม.) ซึ่งวิตามินที่จำเป็นอย่างยิ่ง ในกระบวนการสังเคราะห์โปรตีนและโครงสร้างคอลลาเจน
กระดูกมนุษย์ประกอบด้วยแคลเซียม ฟอสฟอระส และคอลลาเจนเป็นหลัก เมื่ออายุมากขึ้น เราจะสูญเสียมวลของกระดูกไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะเพศหญิงจะสูญสัยมวลกระดูกมากกว่าเพศชาย ด้วยผลของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ที่ลดลงเป็นปัจจัยเสริมสร้างเมื่อกระดูกสลายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ จนเนื้อกระดูกบางลง เราจะเรียกว่าภาวะนี้ว่า ภาวะกระดูกพรุน และอีกปัญหาหนึ่งที่ตามมาคือ ที่ส่วนปลายของกระดูก เช่น กระดูกต้นขา และกระดูกหน้าแข้ง จะมีกระดูกอ่อน (Cartiledge) หุ้มอยู่ตรงปลายกระดูก เพื่อกันไม่ให้กระดูกแต่ละชิ้นไปเสียดสีกันโดยตรง ขณะเดียวกันก็จะทำหน้าที่ในไขข้อลดลง ทำให้กระดูกอ่อนเสียดสีกันจนสึกกร่อน ก่อให้เกิดการอักเสบ บวม ปวด และอาจลุกลามไปเป็นปัญหาไขข้ออักเสบหรือไขข้อเสื่อมได้ในอนาคต การเลือกทานแคลเซียมจึงต้องใส่ใจรายละเอียด เช่น ชนิดของแคลเซียม การดูดซึมหรือควรทานร่วมกับวิตามิน และแร่ธาตุอื่น ๆ ที่จะช่วยเสริมการทำงานของแคลเซียมให้ดียิ่งขึ้น เพื่อที่จะได้ประโยชน์อย่างสูงสุดในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับกระดูก และกระดูกอ่อนในอนาคต.