รักษาโรคเบื้องต้นด้วยสมุนไพรไทย พืชผัก ผลไม้ต่างๆ ในประเทศไทยของเรานอกจากจะเป็นอาหารโปรดของใครหลายคนแล้ว ก็ยังมีสรรพคุณใช้เป็นยารักษาโรคหรืออาการเจ็บไข้ได้ป่วยได้อีกด้วย โดยการ
ใช้ส่วนต่างๆ เช่น ใบ ต้น หรือราก ช่วยในการรักษา อาจจะใช้ตำให้แหลกแล้วโพกส่วนที่เป็นแผล ใช้ต้มเพื่อดื่ม ข้อดีของสมุนไพรก็คือไม่มีผลข้างเคียงเหมือนยาแผนปัจจุบัน
ตัวอย่างสมุนไพรไทยและสรรพคุณ
พืชผักสมุนไพร อาจจะเป็นไม้ยืนต้น พืชล้มลุกหรือพืชผักสวนครัว หรือเครื่องเทศที่เรานำมาประกอบอาหาร ต่างก็มีสรรพคุณทางยาต่างกันไป ปกติเรากินผัก ผลไม้ แต่น้อยคนจะรู้ว่าแต่ละอย่างนั้น มีประโยชน์อะไรบ้าง เพราะความรู้ที่ได้รับมาจากการเรียนการสอน ผักและผลไม้มีประโยชน์ต่อร่างกาย แค่นั้น เราจะไปดูพืชผักใกล้ๆ ตัว ที่รับประทานกันบ่อยๆ ว่ามีสรรพคุณทางยาอย่างไรบ้าง
กระเพรา
กระเพรามีทั้งกระเพราขาวและกระเพราแดง ประเภทหลังกลิ่นจะแรงกว่า เมนูผัดกระเพราไม่ว่าจะเป็นกระเพราหมู กระเพราไก่ ล้วนเป็นเมนูยอดนิยมของคนไทย วันๆ หนึ่งน่าจะมีคนไทยสั่งเมนูนี้นับล้านคนเลยทีเดียว สรรพคุณทางยา จะใช้ช่วยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยการทำงานของลำไส้ ส่วนการใช้ภายนอกจะใช้รักษากลากเกลี้ยน โดยนำใบมาตำให้แหลก แล้วพอกผิวหนังบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนจนกว่าจะหาย
ขิง
นอกจากจะเป็นเมนูอร่อย หมูหรือไก่ผัดขิง เครื่องในผัดขิง หรือกินกับโจ๊กร้อนๆ เราใช้ขิงประกอบอาหารได้หลากหลาย เพราะขิงสามารถดับกลิ่นคาวได้ เช่น ขิงโรยที่ปลานึ่ง ขิงเป็ดน้ำแดง ขิงสดกับไส้กรอกข้าว นอกจากนั้นเราก็ยังใช้ขิงเป็นยาช่วยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยขับเสมหะ หรืออาจจะนำ ไปตากแห้งแล้วบดเป็นผงไว้ชงดื่มร้อนๆ ช่วยผ่อนคลายความเครียด แก้หวัดแก้หนาว
มะขาม
มะขามผลไม้ไทยที่ทุกบ้านมันจะปลูกกันนอกจากปลูกมะขามเพื่อความเป็นสิริมงคลแล้ว ส่วนประกอบทั้งต้นมะขามสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ใบอ่อนของมะขามสามารถนำมาทำแก้งส้มปลา ฝักมะขามถ้าเป็นมะขามเปรี้ยวก็นำมาทำเป็นมะขามเปียก ใช้เป็นเครื่องปรุงในการประกอบอาหาร เช่น ใส่ในเกงส้ม ทำน้ำมะขาม ใส่ส้มตำ แทนน้ำมะนาว หรือจะมาทำเป็นขนม เช่นมะขามแก้ว หากเป็นมะขามหวานก็นำมาเป็นผลไม้กินฝักเมื่อสุก ลำต้นมะขามเมื่อไม่ใช้แล้ว ก็นำมาทำเป็นเขียง เพราะเขียงที่ได้จากไม้มะขามจะเป็นเขียงที่มีคุณภาพดี เพราะไม้มะขามจะเหนียวไม่แตกง่าย มะขามมีสรรพคุณทางยาเป็นยาระบาย ขับเสมหะ ระคายคอ บำรุงผิว ขัดผิวให้ขาว ดอกมะขามสามารถลดความดัน
มะนาว
มะนาวเครื่องปรุงอาหารยอดฮิตของคนไทย เพราะต้มยำจำเป็นต้องใส่มะนาว ต้มยำกุ้ง ต้มยำปลา ยำสารพัด ยำรวมมิตร ยำวุ้นเส้น ส้มตำ ก๋วยเตี๋ยว ผัดไทย น้ำจิ้ม น้ำพริก ลาบหมู ลาบเนื้อ ลาบปลา ล้วนแล้วแต่ใส่มะนาว เพื่อเพิ่มรสชาติให้อาหารมีความอร่อย แซ่บยิ่งขึ้น มะนาวสามารถนำมาทำเป็นเครื่องดื่มดับกระหายได้ เช่นน้ำมะนาว ชาเขียวน้ำผึ้งมะนาว ไอศกรีมปั่นรสมะนาว นอกจากมะนาวจะให้คุณค่าทางวิตามินซีแล้ว ยังมีสรรพคุณช่วยขับเสมหะ แก้ไข้เจ็บคอ ขับลมในกระเพาะอาหาร แก้ท้องอืด ห้ามเลือดในปาก
มะเขือเทศ
มะเขือเทศผักสวนครัวที่ใช้ประกอบอาหารเพื่อคุณประโยชน์ด้านโภชนาการแล้วยังเพิ่มสีสันสวยงามให้อาหารน่ารับประทานเราใช้มะเขือเทศประกอบอาหาร พวก ต้ม ผัด แกง ได้หลากหลายชนิด เพราะมะเขือเทศมีสีแดงสดสวยชวนให้อาหารน่าลิ้มรสมากยิ่งขึ้น มะเขือเทศสามารถนำมาทำเป็นน้ำผักผลไม้ หรือรับประทานลูกสดได้ เพราะมะเขือเทศมีวิตามิน เอ วิตามินซี บำรุงผิวให้มีผิวสวยเนียนนุ่ม มะเขือเทศยังมีเบต้าแคโรทีนต้านมะเร็ง ได้อีกด้วย
ใบบัวบก
ใบบัวบกผักสวนครัวที่ใครต่อใครเข้าใจว่าแก้อาการฟกซ้ำได้อย่างเดียว จริงๆแล้วใบบัวบกมีสรรพคุณทางยามากกว่านั้นนอกจากใบบัวบกจะสามารถนำมาเป็นผักกินสดคู่กับลาบ และน้ำพริกแล้วแล้วเรายังนำใบบัวบกมาทำเป็นน้ำสมุนไพร เพื่อดับกระหายคลายร้อนได้ ใบบัวบกสามารถแก้อาการช้ำใน ลดความดันโลหิต แก้ร้อนใน แก้ฟกช้ำ ตำให้แหลกพวกแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ใบบัวบกยังมีวิตามิน บี1 บี 2 ที่ช่วยให้สมองมีการจดจำที่ดีขึ้น
ข่า
ข่าพืชสมุนไพรนิยมนำมาประกอบอาหารประเภทต้มยำ เช่น ต้มยำกุ้ง ต้มยำปลา ต้มยำไก่ ข่าอ่อนนำมาซอยใส่ลาบปลาเพื่อดับคาว เพิ่มรสชาติให้อาหารมีกลิ่นหอม ดอกข่าสามารถนำมาแกง และปลูกประดับเพราะดอกข่ามีกลิ่นหอม ข่ามีสรรพคุณ ขับเลือด ขับลม ข่าแก่ทุบผสมเหล้าขาวทากรักษากลากเกลื้อน กระชับมดลูก แก้ท้องอืดเฟ้อ
แตงกวา
แตงกวาผักสวนครัว ใช้ประกอบอาหารเป็นอาหารประจำวันในมื้อต่างๆ เช่นผัดแตงใส่ไข่ หรือจะนำมากินสดเป็นผักกับก็ได้ แตงกวาสามารถบำรุงผิวให้เต็งตึง ช่วยปรับผิวให้หายจากรอยคล้ำ จะเห็นได้จากผู้หญิงมักนำแตงกวามาฝานบางๆ วางบนใบหน้า หรือที่เปลือกตาก แตงกวามีสรรพคุณ บำรุงผิว แก้ตัวร้อน แก้กระหาย ลดความดันสูงและมีวิตามินซี ช่วยบำรุงผิว
มะระ มะระขี้นก
มะระ
มะระผักรสขมที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยนิยมกันมากนัก แต่มะระก็ยังเป็นที่นิยมในการนำมาประกอบอาหารเช่น มะระยัดไส้ ต้มมะระหมู แม้มะระจะมีรสขม แต่เมื่อนำมาประกอบอาหารรสขมนั้นก็จะลดลง
มะระขี้นก
มะระขี้นกเป็นมะระผลเล็ก นำมานึ่งหรือต้ม เป็นผักจิ้มกับน้ำพริก ยอดมะระขี้นกสามารถนำมาแกง หรือนำมาลวกกินกับน้ำพริกได้ แม้จะมีรสขม แต่เป็นรสขมที่ไม่มาก เมื่อนำมานึ่ง หรือลวก แล้วรับประทานพร้อมน้ำพริก จะได้รสชาติอาหารที่อร่อยแปลก แล้วยังให้คุณค่า ให้วิตามิน วิตามิน C ช่วยบรรเทาโรคเบาหวาน รักษาแผลในกระเพาะ เป็นยาระบายบำรุงเลือดบำรุงสายตา เพิ่มสมรถภาพทางเพศ และต้านมะเร็ง ทั้งมะระ และมะระขี้นก จึงเป็นผักที่นิยมมาประกอบอาหารแม้จะมีรสชาติที่ขมก็ตาม
ผักโขม
ผักโขมเป็นพืชผักที่มีธาตุเหล็กเป็นจำนวนมาก นิยมนำลวกกินกับน้ำพริก ช่วยเผาผลาญโปรตีน ป้องกันโรคโลหิตจาง มีเบต้าแคโรทีน ผักโขมเป็นผักใบเขียวใช้ต้านมะเร็ง ลดคอเลสเตอรอลในเลือด ผักโขมยังมีเส้นใยอาหารช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น ลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้
ผักบุ้ง
ผักบุ้งนิยมนำมาประกอบอาหาร ต้ม ผัด แกง ทอด ได้ทุกประเภท เช่น นำผักบุ้งมาทำเป็นสุกี้ ใส่ก๋วยเตี๋ยว เย็นตาโฟ ผัดผักบุ้งไฟแดง แกงส้มผักบุ้ง ผักบุ้งทอดกรอบ ยำผักบุ้ง ผักบุ้งเป็นพืชที่ทุกคนนิยมรับประทาน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ผักบุ้งช่วยบำรุงสายตา จึงเป็นคำฮิตติดปาก กินผักบุ้งแล้วตาหวาน เพราะผักบุ้งมีวิตามินเอจำนวนมาก ช่วยบำรุงสายตา ไม่ให้ตาแห้ง ทำให้ดวงตามีน้ำหล่อเลี้ยง ให้ชุ่มฉ่ำอยู่ตลอด นอกจากนี้เรายังนำผักบุ้งมาตำให้แหลกพอกรักษากลากเกลื้อนได้อีกด้วย
กระเทียม
กระเทียมพืชสรรพคุณบำรุงหัวใจ ลดคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยให้ระบบหายใจไม่ติดขัด หัวกระเทียมนำมาบดรักษากลากเกลื้อนได้แล้วต้นกระเทียมสดสามารถนำมารับประทาน กับซุปมะเขือเทศ หัวกระเทียมแห้งนำมาปรุงอาหารก่อนผัดเพื่อให้มีกลิ่นหอม หรือนำมาหมักเพื่อให้มีกลิ่นหอม คลุกเคล้ากับอาหารชวนให้รับประทาน นอกจากนี้หัวกระเทียมยังนิยมนำมาดองเพื่อใช้เป็นยาบำรุงและประกอบอาหารเป็นต้น
ขึ้นช่าย
ขึ้นช่าย ผักพื้นบ้านมีลักษณะคล้ายผักชีแต่มีใบใหญ่ มีกลิ่นหอม นำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เพื่อให้อาหารมีกลิ่นหอม ดับกลิ่นคาว ขึ้นสามรถรับประทานได้ทั้งสุกและสด ขึ้นช่ายมีสรรพคุณลดความดันโลหิต ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดคลอเลสเตอรอล ป้องกันมะเร็ง ลดบวมอักเสบ ขับปัสสาวะ มีฤทธิ์ ช่วยให้นอนหลับ เป็นยาดับร้อน ขับเสมหะ บรรเทาอาการปวดศีรษะ
บวบเหลี่ยม บวบกลม
บวมเป็นพืชที่นำมาใช้ประกอบอาหารประเภทผัด และต้ม ส่วนใหญ่นิยมนำมาผัด บวมผัดใส่ไข่ใส่หมู นำมาแกงเลียง แกงผักพื้นบ้าน บวมมีสรพคุณ รักษาอาการปวดหัวข้างเดียว รักษาหอบหืด รักษาอาหารไอ ขับเสมหะ โดยเอาเมล็ดแก่ตำกับพริกไทย ปั้นเป็นลูกกลอนไว้กิน
กระชาย
กระชายใช้เป็นเครื่องเทศประกอบอาหาร ใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องแกงเพื่อดับกลิ่นคาวเนื้อและปลา นำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย เช่น ขนมจีนน้ำยา ผัดเผ็ดปลาดุก แกงเผ็ดเนื้อ แกงป่า กระชายเป็นยารักษาบำรุงกำลัง รักษาริดสีดวง แก้บิด แก้ท้องร่วง บำรุงหัวใจ ใช้ขับไล่แมลง เป็นต้น
มะกรูด
มะกรูดพืชสมุนไพร ที่นิยมนำใบมาใช้ประกอบอาหารเช่น ต้มยำ ผัดเผ็ด เพราะใบมะกรูดมีกลิ่นหอม ใช้ดับคามเนื้อสัตว์ ผลมะกรูดนำมาคัดแล้วนำมาสระผม ช่วยบำรุงหนังศีรษะให้มีความชุ่มชื่น ไม่เป็นรังแค ให้ผมมันเงา ดกดำสวยงามนุ่มลื่น มะกรูดเป็นยาบำรุงหัวใจ ขับเสมหะ ดับกลิ่นในห้องน้ำ แก้เป็นลม วิงเวียนศีรษะ
สะเดา
สะเดาเป็นพืชผักที่ไม่นิยมนำมาทำเป็นอาหาร แต่คนทั่วไปมักนำสะเดามาเป็นผักลวก กินกับน้ำพริก กับลาบ หรือสะเดาน้ำปลาหวาน ส่วนใหญ่เรานำดอกสะเดาตูมมารับประทาน สะเดาจึงเป็นที่นิยมเฉพาะช่วงฤดูกาลเท่านั้น เพราะสะเดามีรสขม จึงนิยมนำมาเป็นผักกับรับประทานเพื่อตัดรสชาติ ให้มีความอร่อย สะเดาเป็นยารักษาไข้ ขับเสมหะ โดยใช้ก้านใบและราก หรือยอดอ่อน นอกจากนี้เกษตรกร ยังนำสะเดามาต้มคั่นเอาน้ำ ไปทำเป็นยาไล่แมลง
โหระพา
โหระพา เป็นพืชที่ใช้ใบในการประกอบอาหาร โหรพาช่วยให้อาหารมีรสชาติและกลิ่นหอมน่ารับประทาน เราใช้ใบโหระพา มาประกอบอาหารเป็น ผัดเผ็ด แกงเผ็ด ต้มอ่อม ต้มแซ่บ นำใบโหระพามารับประทานสด เป็นผักกับกับอาหารอื่นๆได้เป็นอย่างดี นอกจากจะใช้ประกอบเป็นอาหารแล้ว ใบโหระพายังมีคุณค่าทางยาช่วยขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ หรือนำเมล็ดมาแช่น้ำจะพองตัวใช้รับประทานแก้บิด ช่วยหล่อลื่นลำไส้ ขับเหงื่อ บรรเทาอาการไอ
แค ดอกแค
ดอกแคดอกไม้ที่นิยมนำมาประกอบอาหาร เช่น แกงส้มดอกแค ดอกแคสอดไส้ แกงเหลืองปลากะพงดอกแค ดอกแคชุบแป้งทอด หรือนำมาลวกจิ้มน้ำพริก ส่วนใหญ่ดอกแคมีลักษณะเป็นสีขาว บางต้นเป็นสีม่วงแดง ก่อนนำดอกแคมาประกอบอาหารเพื่อรับประทาน จะต้องเด็ดเกสรดอกแคออกก่อน เพราะเกสรดอกแคมีรสชาติขม ดอกแคมีสรรพคุณเป็นยา ขับเสมหะ แก้ปวดหัวตัวร้อน ลดไข้ แก้ไมเกรน
ตะไคร้
ตะไคร้ผักสวนครัวที่นิยมปลูกตามบ้านเรือน ตะไคร้นิยมนำมาประกอบอาหารประเภท ต้ม และยำ เช่น ต้มยำปลา ต้มยำกุ้ง ปลาผัดตะไคร้ ปลานึ่งมะนาว ตะไคร้นิยมนำมาประกอบอาหารประเภทปลามากที่สุด เพราะตะไคร้นิยมนำมาดับกลิ่นคาว ตะไคร้มีสรรพคุณ ขับปัสสาวะ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม นอกจากนี้ตะไคร้ยังนำมาสกัดไล่ยุงได้อีกด้วย
แตงไทย
แตงไทยพืชสมุนไพรนิยมนำมาทำประอาหารว่าง แตงไทยใช้กินสดรับประทานเป็นผลไม้ หรือนำมาทำเป็นของหวาน แตงไทยมีกลิ่นหอมจึงนิยมนำไปทำเป็นขนมหวานได้อย่างหลากหลาย เช่นขนมหวานแตงไทย ของหวานแตงไทย ใส่น้ำเชื่อม และน้ำแข็ง กินดับกระหายคลายร้อน หอมหวานอเย็นชื่นใจ แตงไทยมีสรรพคุณ แก้ไข้ ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ บำรุงหัวใจ สมอง แก้อักเสบในทางเดินปัสสาวะ บำรุงธาตุ ขับน้ำนม
ตำลึง
ตำลึงผักริมรั้วไม้เลื้อยที่มีคุณประโยชน์ นิยมนำมาประกอบอาหาร เช่นต้มจืดตำลึง ทางการแพทย์นิยมให้บริโภคตำลึง ในวัยเด็ก เพราะตำลึงเป็นพืชใบเขียว ที่ประกอบด้วยโปรตีน แร่ธาตุ และวิตามิน การรับประอาหารที่มีตำลึงเป็นส่วนประกอบเทียบเท่ากับการรับทานอาหารครบ 5 หมู่ ตำลึงนิยมนำมาประกอบอาหารประเภท หรือลวกจิ้มกับน้ำพริก ตำลึงมีสรรพคุณรักษาตากุ้งยิง รักษาเบาหวาน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ลดอาการคัน อักเสบ ใบตำลึงตำละเอียดรักษางูสวัส
ขี้เหล็ก
ขี้เหล็กผักสมุนไพรใช้ประกอบอาหาร นิยมนำดอกและใบมาแกง เป็นอาหารนิยมของภาคกลางและภาคอีสาน แต่แกงขี้เหล็กของสองภาคจะแตกต่างกัน ซึ่งแกงขี้เหล็กของภาคกลางเน้น ดอกขี้เหล็กในการแกงโดยจะใส่หมู ใส่กะทิ แต่แกงขี้เหล็กของภาคอีสานในใบยอดอ่อน ของขี้เหล็กมาแกง โดยคั่นน้ำใบย่านาง ใส่ปลาร้า ในการปรุงรส ทำให้ได้รสชาติที่แปลกใหม่ แต่ก็อร่อยทั้งสองภาค ขี้เหล็ก ใช้เป็นยาระบาย ยาถ่าย รักษาอาการนอนไม่หลับ